SERVICES MODLE
SOLAR ON-GRID
คือ การใช้ระบบโซล่าเซลล์ร่วมกับระบบไฟฟ้าเดิมที่ติดตั้งในอาคารหรือที่พักอาศัย หากไฟฟ้าที่ผลิตจากโซล่าเซลล์มากเกินความต้องการ กระแสไฟฟ้าที่เหลือจากการผลิตก็จะจ่ายเข้าสู่ระบบไฟฟ้าของการไฟฟ้า หากไฟฟ้าที่ผลิตจากโซล่าเซลล์น้อยกว่าความต้องการ กระแสไฟฟ้าจากระบบของการไฟฟ้าก็จะจ่ายเข้าสู่อาคาร
![](http://www.solarpower4.com/wp-content/uploads/2019/10/surveying-equipment.png)
สำรวจพื้นที่ติดตั้ง
![](http://www.solarpower4.com/wp-content/uploads/2019/10/rtx14u4h.jpg)
บริการติดตั้ง
![](http://www.solarpower4.com/wp-content/uploads/2019/10/iStock_000042151602_Small.jpg)
จัดทำและยื่นเอกสาร
![](http://www.solarpower4.com/wp-content/uploads/2019/10/images.jpg)
ตรวจเช็ค/ทำความสะอาด
SOLAR OFF – GRID
คือ การใช้ระบบโซล่าเซลล์โดยไม่เชื่อมต่อกับระบบไฟฟ้าในอาคาร เหมาะกับพื้นที่ที่ห่างไกลจากระบบสายส่งของการไฟฟ้า หรือ การใช้แบตเตอรี่ร่วมเพื่อเก็บกระแสไฟฟ้ามาใช้ในช่วงเวลากลางคืน
![](http://www.solarpower4.com/wp-content/uploads/2022/07/S__1114115-1024x724.jpg)
ไม่เชื่อมต่อกับระบบการไฟฟ้า
![](http://www.solarpower4.com/wp-content/uploads/2019/10/ร.jpg)
SOLAR PRIVATE – PPA
คือ Solar Power4 จะเป็นผู้ลงทุนติดตั้งระบบโซล่าเซลล์ให้กับอาคารและดูแลรักษาระบบ โดยเจ้าของอาคารชำระเพียงค่ากระแสไฟฟ้า
![](http://www.solarpower4.com/wp-content/uploads/2019/10/57608-08ogf4vn7f-1-1024x680.jpg)
ความแตกต่างของแต่ละระบบของโซล่าเซลล์
Service Model
Micro Inverter System
ไมโครอินเวอร์เตอร์ (Micro-inverter) คือ เครื่องแปลงกระแสไฟฟ้าขนาดเล็ก (ปกติจะมีขนาดไม่เกิน 500 Watt) จากแผงเซลล์แสงอาทิตย์ซึ่งเป็นกระแสตรง (DC) ไปเป็นกระแสสลับ (AC) และจ่ายเข้าอาคารบ้านเรือน ไมโครอินเวอร์เตอร์ที่กล่าวถึงนี้จะเป็นระบบแบบออนกริด (Grid-tie inverter) คือ ทำงานร่วมกับไฟจากการไฟฟ้า
![](http://www.solarpower4.com/wp-content/uploads/2024/04/5e37e646-e284-11ed-960f-f13ad5346e50.jpg)
คือ เครื่องแปลงกระแสไฟฟ้าขนาดเล็ก (ปกติจะมีขนาดไม่เกิน 500 Watt) จากแผงเซลล์แสงอาทิตย์ซึ่งเป็นกระแสตรง (DC) ไปเป็นกระแสสลับ (AC) และจ่ายเข้าอาคารบ้านเรือน ไมโครอินเวอร์เตอร์ที่กล่าวถึงนี้จะเป็นระบบแบบออนกริด (Grid-tie inverter) คือ ทำงานร่วมกับไฟจากการไฟฟ้า
![](http://www.solarpower4.com/wp-content/uploads/2024/04/DTU-Pro-untuk-MI-700-1200-1500-HM350-HM700-HM1500-Hoymiles-Microinverter-Suku-Cadang-WIFI-Unit.webp)
EV Charger System
EV Charger หรือ สถานีชาร์จรถไฟฟ้า ทำหน้าที่เป็นตัวชาร์จพลังงานไฟฟ้าให้กับแบตเตอรี่รถยนต์ที่ใช้พลังงานไฟฟ้าโดยสามารถแบ่งการชาร์จออกเป็น 2 ประเภท คือ Normal Charge และ Quick Charge
![](http://www.solarpower4.com/wp-content/uploads/2024/04/ดาวน์โหลด-1.png)
1. Normal Charge เป็นการชาร์จด้วยไฟ AC โดยชาร์จผ่าน On Board Charger ที่ยู่ภายในตัวรถยนต์ไฟฟ้า ซึ่งทำหน้าที่ในการแปลงไฟ AC ไปเป็นไฟ DC ขนาดของตัว On Board Charger จะขึ้นอยู่กับยี่ห้อรถยนต์ ซึ่งขนาดของ On Board Charger จะมีผลต่อระยะเวลาในการชาร์จไฟของแบตเตอรี่รถยนต์
![](http://www.solarpower4.com/wp-content/uploads/2024/04/1709776783853-1024x308.png)
2. Quick Charge จะเป็นการชาร์จโดยใช้ตู้ EV Charger (สถานีชาร์จรถไฟฟ้า) ที่แปลงไฟ AC ไปเป็นไฟ DC แล้วจ่ายไฟ DC เข้าที่แบตเตอรี่รถยนต์ไฟฟ้าโดยตรง ซึ่งระยะเวลาที่ใช้ในการชาร์จจะน้อยกว่าแบบ Normal Charger หัวชาร์จ (SOCKET) ของตู้ EV Charger จะมีทั้งแบบที่เป็น AC และ แบบ DC ประเภทของหัวชาร์จจะขึ้นอยู่กับมาตรฐานของผู้ผลิตรถยนต์
![](http://www.solarpower4.com/wp-content/uploads/2024/04/f36ec9_ae7c3a6905d8494ca8c2ef74f6c086cbmv2.webp)
การติดตั้งอุปกรณ์ EV Charger ตามสถานที่ต่างๆ จะเลือกตามความเหมาะสมของเวลาที่ใช้ในการชาร์จ ยกตัวอย่างเช่น บ้านพัก ควรติดตั้ง EV Charger แบบ AC ก็เพียงพอ ถึงจะใช้เวลาในการชาร์จนาน แต่เวลาที่เราใช้ภายในบ้านก็ค่อยข้างนานเช่นกัน หรือ ถ้าต้องการตั้งเป็นสถานี EV Charger ที่ต้องการความเร็วในการชาร์จ ก็สามารถเลือกเป็นการชาร์จแบบ DC ซึ่งมีระดับการชาร์จถึง 3 ระดับ คือ DC Wallbox , DC terra 54 และ DC Terra 360 ระยะเวลาที่ใช้ในการชาร์จจะน้อยลงตามลำดับ