SERVICES MODLE
SOLAR ON-GRID
คือ การใช้ระบบโซล่าเซลล์ร่วมกับระบบไฟฟ้าเดิมที่ติดตั้งในอาคารหรือที่พักอาศัย หากไฟฟ้าที่ผลิตจากโซล่าเซลล์มากเกินความต้องการ กระแสไฟฟ้าที่เหลือจากการผลิตก็จะจ่ายเข้าสู่ระบบไฟฟ้าของการไฟฟ้า หากไฟฟ้าที่ผลิตจากโซล่าเซลล์น้อยกว่าความต้องการ กระแสไฟฟ้าจากระบบของการไฟฟ้าก็จะจ่ายเข้าสู่อาคาร
สำรวจพื้นที่ติดตั้ง
บริการติดตั้ง
จัดทำและยื่นเอกสาร
ตรวจเช็ค/ทำความสะอาด
SOLAR OFF – GRID
คือ การใช้ระบบโซล่าเซลล์โดยไม่เชื่อมต่อกับระบบไฟฟ้าในอาคาร เหมาะกับพื้นที่ที่ห่างไกลจากระบบสายส่งของการไฟฟ้า หรือ การใช้แบตเตอรี่ร่วมเพื่อเก็บกระแสไฟฟ้ามาใช้ในช่วงเวลากลางคืน
ไม่เชื่อมต่อกับระบบการไฟฟ้า
SOLAR PRIVATE – PPA
คือ Solar Power4 จะเป็นผู้ลงทุนติดตั้งระบบโซล่าเซลล์ให้กับอาคารและดูแลรักษาระบบ โดยเจ้าของอาคารชำระเพียงค่ากระแสไฟฟ้า
ความแตกต่างของแต่ละระบบของโซล่าเซลล์
Service Model
Micro Inverter System
ไมโครอินเวอร์เตอร์ (Micro-inverter) คือ เครื่องแปลงกระแสไฟฟ้าขนาดเล็ก (ปกติจะมีขนาดไม่เกิน 500 Watt) จากแผงเซลล์แสงอาทิตย์ซึ่งเป็นกระแสตรง (DC) ไปเป็นกระแสสลับ (AC) และจ่ายเข้าอาคารบ้านเรือน ไมโครอินเวอร์เตอร์ที่กล่าวถึงนี้จะเป็นระบบแบบออนกริด (Grid-tie inverter) คือ ทำงานร่วมกับไฟจากการไฟฟ้า
คือ เครื่องแปลงกระแสไฟฟ้าขนาดเล็ก (ปกติจะมีขนาดไม่เกิน 500 Watt) จากแผงเซลล์แสงอาทิตย์ซึ่งเป็นกระแสตรง (DC) ไปเป็นกระแสสลับ (AC) และจ่ายเข้าอาคารบ้านเรือน ไมโครอินเวอร์เตอร์ที่กล่าวถึงนี้จะเป็นระบบแบบออนกริด (Grid-tie inverter) คือ ทำงานร่วมกับไฟจากการไฟฟ้า
EV Charger System
EV Charger หรือ สถานีชาร์จรถไฟฟ้า ทำหน้าที่เป็นตัวชาร์จพลังงานไฟฟ้าให้กับแบตเตอรี่รถยนต์ที่ใช้พลังงานไฟฟ้าโดยสามารถแบ่งการชาร์จออกเป็น 2 ประเภท คือ Normal Charge และ Quick Charge
1. Normal Charge เป็นการชาร์จด้วยไฟ AC โดยชาร์จผ่าน On Board Charger ที่ยู่ภายในตัวรถยนต์ไฟฟ้า ซึ่งทำหน้าที่ในการแปลงไฟ AC ไปเป็นไฟ DC ขนาดของตัว On Board Charger จะขึ้นอยู่กับยี่ห้อรถยนต์ ซึ่งขนาดของ On Board Charger จะมีผลต่อระยะเวลาในการชาร์จไฟของแบตเตอรี่รถยนต์
2. Quick Charge จะเป็นการชาร์จโดยใช้ตู้ EV Charger (สถานีชาร์จรถไฟฟ้า) ที่แปลงไฟ AC ไปเป็นไฟ DC แล้วจ่ายไฟ DC เข้าที่แบตเตอรี่รถยนต์ไฟฟ้าโดยตรง ซึ่งระยะเวลาที่ใช้ในการชาร์จจะน้อยกว่าแบบ Normal Charger หัวชาร์จ (SOCKET) ของตู้ EV Charger จะมีทั้งแบบที่เป็น AC และ แบบ DC ประเภทของหัวชาร์จจะขึ้นอยู่กับมาตรฐานของผู้ผลิตรถยนต์
การติดตั้งอุปกรณ์ EV Charger ตามสถานที่ต่างๆ จะเลือกตามความเหมาะสมของเวลาที่ใช้ในการชาร์จ ยกตัวอย่างเช่น บ้านพัก ควรติดตั้ง EV Charger แบบ AC ก็เพียงพอ ถึงจะใช้เวลาในการชาร์จนาน แต่เวลาที่เราใช้ภายในบ้านก็ค่อยข้างนานเช่นกัน หรือ ถ้าต้องการตั้งเป็นสถานี EV Charger ที่ต้องการความเร็วในการชาร์จ ก็สามารถเลือกเป็นการชาร์จแบบ DC ซึ่งมีระดับการชาร์จถึง 3 ระดับ คือ DC Wallbox , DC terra 54 และ DC Terra 360 ระยะเวลาที่ใช้ในการชาร์จจะน้อยลงตามลำดับ